ทัศนศึกษานอกสถานที่ ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา
1. แหล่งการเรียนรู้หมายถึงอะไร
2. หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออก เป็นแหล่งการเรียนรู้ เพราะอะไร
หอศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออก ได้มีการรวบรวมประวัติความเป็นมาของพื้นที่ด้านตะวันออก ของ สยามประเทศ ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งมีการจัดนิทรรศการต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้แก่นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา และประชาชนทั่วไป ถ้าจัดตามประเภทของแหล่งการเรียนรู้แล้ว หอศิลป์ จัดเป็น แหล่งการเรียนรู้ประเภทสิ่งมนุษย์สร้างขึ้น
3. หอศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเหมาะกับการสอนกลุ่มสาระใด
ถ้าจะถามแล้วว่าเหมากับการเรียนรู้กับกลุ่มใด คำถามนี้ถาตอบโดยภาพรวมแล้วศูนย์ศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออกนั้นเหมาะสมกับทุกสาระ แต่ถ้าเราจะพูดกันชัดเจน ก็น่าจะมีเอกการสอนสังคม ที่เกี่ยวเนืองในหัวข้อของประวิติศาสตร์ความเป็นมาของภาคตะวันออก ที่จะแสดงตั้งแต่การดำเนินวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ แล้วก็ยังรวมไปถึงอารยะธรรมต่างๆ ซึ่งตรงกับสังคม แต่ส่วนกลุ่มสาระอื่นก็สามารถบูรนาการได้เช่นกัน เช่นกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ สามารถค้นหาคำศัพท์ทางประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ได้มากมาย กลุ่มศิลปะสามารถหัดกวาดภาพวิถีชีวิตการทำงาน การหากินของอดีตถึงปัจจุบันของชาวภาคตะวันออก กลุ่มการงานอาชีพสามารถฝึกทำอาชีพหัตกรรม ของงชาวภาคตะวันออกที่มีความงดงามได้ เพียงแค่แหล่งการเรียนรี่แห่งเดียวแต่เป็นการรวบรวมเอาข้อมูลของชาวภาคตะวันออกมานำเสนอ เราสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายกลุ่มสาระวิชา
4. แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออกนำเสนอรายละเอียดของเนื้อหาใดบ้าง
นำเสนอแหล่งโบราณาคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีควมสำคัญใน
ฐานะที่แสดง ถึงหลักฐานการตั้งถิ่นฐาน ของชุมชนโบราณบริเวณชายฝั่งทะเล ที่
สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่และวิถีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ เช่น แหล่งโบราณคดีหนอง
โน จังหวัดชลบุรี นำเสนอแหล่งโบราณคดีที่มีการพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของ
ชุมชนโบราณ ที่มีอายุถึง ๔,๕๐๐ –๔,๐๐๐ ปี นับเป็นชุมชนฝั่งทะเลสมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และ แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี
จังหวัดชลบุรี นำเสนอเรื่องราวของโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวใน
ประเทศไทย ที่พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์
อายุ ๔,๕๐๐ – ๔,๐๐๐ ปี มาแล้วซึ่งพึ่งพาหาอาหารจากทะเลเป็นหลัก และมีการ
อยู่อาศัยต่อเนื่องนานกว่า ๔๐๐ ปี และ เมืองโบราณที่สำคัญในยุคก่อนประวัติ
ศาสตร์บนดินแดนบูรพาทิศินำเสนอเรื่องราวของเมืองโบราณที่สำคัญ ได้แก่ เมือง
เพนียด จังหวัดจันทบุรี เมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี เมืองศรีพโล จังหวัดชลบุรี เมือง
พญาแร่ จังหวัดชลบุรี
ฐานะที่แสดง ถึงหลักฐานการตั้งถิ่นฐาน ของชุมชนโบราณบริเวณชายฝั่งทะเล ที่
สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่และวิถีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ เช่น แหล่งโบราณคดีหนอง
โน จังหวัดชลบุรี นำเสนอแหล่งโบราณคดีที่มีการพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของ
ชุมชนโบราณ ที่มีอายุถึง ๔,๕๐๐ –๔,๐๐๐ ปี นับเป็นชุมชนฝั่งทะเลสมัยก่อน
ประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และ แหล่งโบราณคดีโคกพนมดี
จังหวัดชลบุรี นำเสนอเรื่องราวของโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์เพียงแห่งเดียวใน
ประเทศไทย ที่พบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์
อายุ ๔,๕๐๐ – ๔,๐๐๐ ปี มาแล้วซึ่งพึ่งพาหาอาหารจากทะเลเป็นหลัก และมีการ
อยู่อาศัยต่อเนื่องนานกว่า ๔๐๐ ปี และ เมืองโบราณที่สำคัญในยุคก่อนประวัติ
ศาสตร์บนดินแดนบูรพาทิศินำเสนอเรื่องราวของเมืองโบราณที่สำคัญ ได้แก่ เมือง
เพนียด จังหวัดจันทบุรี เมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี เมืองศรีพโล จังหวัดชลบุรี เมือง
พญาแร่ จังหวัดชลบุรี
5. วิถีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบนแผ่นดินตะวันออกในยุคประวัติศาสตร์ก่อนสยามประเทศเป็นอย่างไร
วัฒนธรรมทวารวดี
จากบริเวณชายฝั่งตะวันออกไปจนถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกงขึ้นมานับเป็นแหล่งอารยธรรมทวารวดีที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง ได้มีการค้นพบเมืองโบราณจำนวนมาก เช่น เมืองพระรถ จังหวัดชลบุรี เมืองเพนียด จังหวัดจันทบุรี เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ไปจนถึงเขตจังหวัดนครนายก ได้แก่ เมืองโบราณดงละคร ซึ่งน่าจะเป็นจุดเชื่อมต่อกับเมืองทวารวดีในภาคกลาง บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ส่วนเหนือปราจีนขึ้นไปแถบอุบลราชธานีเป็นจุดเชื่อมต่อกับทวารวดีในภาคอีสานและเขมรโบราณ หลักฐานของภาคตะวันออกที่แสดงให้เห็นถึงศิลปกรรมยุคแรกเริ่มในสมัยทวารวดี ได้แก่ รอยพระพุทธบาทคู่และพระพุทธรูปหินทรายนาคปรก ในเขตเมืองโบราณศรีมโหสถ เป็นต้น
ดินแดนโพ้นทะเล
จากหลักฐานในการขุดค้นทางโบราณคดีใต้น้ำ บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี จนถึงตราด ได้พบแหล่งเรือจมน้ำเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าตลอดแนวชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก คือ เส้นทางการค้าทางทะเลที่สำคัญ โดยเฉพาะการค้ากับจีนและญี่ปุ่นในสมัยสุโขทัยและอยุธยา เส้นทางการค้าทางทะเลนี้แบ่งออกเป็น 2เส้นทางคือ เส้นทางอ้อมแหลมญวนแล้วขึ้นไปจีนและญี่ปุ่น ส่วนอีกเส้นทางจะมุ่งไปทางภาคใต้โดยเลียบชายฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณวัตถุหลายชิ้นที่มีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกัน เช่น เทวรูปนารายณ์สวมหมวกทรงกระบอก เป็นต้น โบราณวัตถุที่พบจากแหล่งเรือจมส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่บรรทุกอยู่ในเรือสินค้า เช่น เหรียญจีน ภาชนะเคลือบเขียวของจีน ที่ตรงกับสมัยสุโขทัยและอยุธยา ซึ่งเป็นยุคสมัยที่การค้าเจริญรุ่งเรืองู
อาณาจักรเขมรโบราณ
ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่บริเวณภาคตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับอาณาจักรเขมรโบราณ ซึ่งเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่และมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ทำให้วัฒนธรรมเขมรโบราณแผ่อิทธิพลเหนือดินแดนภาคตะวันออก ดังปรากฏโบราณสถานและโบราณวัตถุศิลปะเขมรเป็นจำนวนมาก เช่น ปราสาทหิน ทับหลัง เทวรูป และจารึกภาษาเขมรโบราณที่ปรากฏอยู่บนแท่งศิลา และวัตถุสำริด หลักฐานทางโบราณคดีที่เก่าแก่ คือ ทับหลังศิลา พบที่วัดทองทั่ว จังหวัดจันทบุรี เป็นทับหลังแบบถาลาบริวัตรในศิลปะเขมร โบราณสถานสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น
6. ให้นิสิตบันทึกภาพตัวอย่างประเภทของเทคโนโลยีการศึกษาที่แบ่งตามกรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale พร้อมคาอธิบาย
1.ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น
- จากการที่ได้เข้าศึกษา ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออกแห่งมหาวิทยาลัยบูรพานี่นับเป็นประสบการณ์ตรงที่ได้รับคือการไปศึกษาจากสถานที่จริงทำให้ได้รับความรู้ต่างๆเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ภาคตะวันออกมากมาย ซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งเราจะได้รับประสบการณ์จากการไปศึกษาครั้งนี้อีกด้วย
2. ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้
- การจำลองวิถีการดำเนินชีวิตตามวิถีชาวภาคตะวันออก ก็เป็นประสบการณ์ที่ได้มีการจำลองมาในลักษณะของรูปปั้น หุ่นขี้ผึ้งเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาอย่างใกล้ชิด
3.การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนการสอนจากประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น
- การศึกษานอกสถานที่นั้นเป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้กับตัวผู้เรียน ผู้ศึกษาทำให้ผู้เรียนได้ได้เปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้จากห้องเรียนสี่เหลี่ยมเป็นหอศิลปะวัฒนธรรมภาคตะวันออกเป็นการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆในภาคตะวันออกไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชาวภาคตะวันออกทำให้ได้รับความรู้แบบบูรนาการต่างๆมากมาย
4.นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สารประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด
- นิทรรศการเป็นการจัดนิทรรศการแบบถาวรนำเสนอ 11 ชุด คือ
- นิทรรศการเป็นการจัดนิทรรศการแบบถาวรนำเสนอ 11 ชุด คือ
1.เยือนถิ่นบูรพาวันนี้ 2.ตามรอยอารยธรรมแห่งบูรพทิศ 3.แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในภาคตะวันออก 4.แหล่งโบราณคดีหนองโน จังหวัดชลบุรี 5.ประวัติศาสตร์โคกพนมดี จังหวัดชลบุรี 6.วิถีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมบนแผ่นดินภาคตะวันออกในยุคประวัติศาสตตร์ก่อนสยามประเทศ 7. เมืองโบราณยุคประวัติศาสตร์ที่สำคัญบนดินแดนบูรพทิศ 8.เมืองศรีมโหสถ 9.อิทธิพล ความเชื่อและศาสนาในเมืองศรีมโหสถ 10.ชนต่างวัฒนธรรมในชุมชนภาคตะวันออก 11. จิตรกรรมฝาผนัง งานศิลปะอันทรงคุณค่า
5.ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
- ภาพยนตร์นำเสนอเรื่องราวของเมืองโบราณศรีมโหสถซึ่งมีให้เลือกเรียนรู้ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่มีคูน้ำเป็นเขตเมือง มีเทวาลัยพระนารายณ์เป็นสิ่งศักดิ์ที่ชาวเมืองนับถือ ศาสนาที่นับถือคือ ศาสนาพุทธ พราหมณ์และฮินดู
6.การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้
- ภาพนิ่งเป็นการนำเสนอในเรื่องวัฒนธรรมชาวชองเป็นภาพลักษณะของชาวชอง บ้านเรือน ห้องนอนซึ่งเป็นภาพนิ่งที่สวยงามและมีคุณค่าอย่างหนึ่งในการศึกษาซึ่งถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจน
7. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ
- ทัศนสัญญลักษณ์นำเสนอแผนที่ภายในหอศิลปวัฒนธรรม เป็นการนำเสนอที่ทำให้ผู้มาเยือนได้รับรู้เข้าใจก่อนที่จะเริ่มเข้าไปภายในห้องนิทรรศการต่างๆทำให้สามารถวางแผนการจัดการในเรื่องต่างๆขณะเข้าไปเยี่ยมชมได้เป็นอย่างดี
8.วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด
- ภาพนิ่งเป็นการนำเสนอในเรื่องวัฒนธรรมชาวชองเป็นภาพลักษณะของชาวชอง บ้านเรือน ห้องนอนซึ่งเป็นภาพนิ่งที่สวยงามและมีคุณค่าอย่างหนึ่งในการศึกษาซึ่งถ่ายทอดออกมาได้อย่างชัดเจน
7. ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ
- ทัศนสัญญลักษณ์นำเสนอแผนที่ภายในหอศิลปวัฒนธรรม เป็นการนำเสนอที่ทำให้ผู้มาเยือนได้รับรู้เข้าใจก่อนที่จะเริ่มเข้าไปภายในห้องนิทรรศการต่างๆทำให้สามารถวางแผนการจัดการในเรื่องต่างๆขณะเข้าไปเยี่ยมชมได้เป็นอย่างดี
8.วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด
- จากการที่ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออก แห่ง มหาวิทยาลัยบูรพา
ก็ได้มีพี่วิทยากรสาวสวยใจดีมามอบความรู้เกี่ยวกับศูนย์ศิลปวัฒนธรรมภาคตะวันออกจนพวกเรารู้ถึงที่มาที่ไปว่า สถานที่แห่งนี้ถูกก่อตั้งมาได้อย่างไรและสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์อะไร นี่ก็เป้นประสบการณ์จาก วจนสัญลักษณ์ นั่นเอง
7.ให้นิสิตบันทึกภาพถ่ายกลุ่มของตนเองในการเข้าเยี่ยมชมนิทรรศการดังกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น