สถาบันวิทยาศตร์ทางทะเลนั้น
ได้เเบ่งชั้นที่จัดแสดงต่างๆ ชั้นล่างจะเป็นการแสดงปลาทะเลต่างๆ สิ่งมีชีวิตต่างไม่ว่างจะเป็นดาวทะเล ปะการัง หอย ต่างๆ ฯไว้ในตู้กระจก เเละจำลองการเป็นอยู๋ของสัตว์ใต้ทะเลที่น่าสนใจมาก ชั้นที่สองจะจัดเเสดงเป็นสองส่วนจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯและจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล ระหว่างการเข้ารับชมได้รับการบรรยายความรู้ในเรื่องต่างๆจากท่านวิทยากรด้วย ท่านชื่อ จิรศักดิ์ แช่มชื่น
ชั้นที่1
สถานที่เลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม
เป็นส่วนที่จัดแสดงเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตและความเป็นอยู่ของสัตว์ทะเลชนิดต่างๆที่อาศัยอยู่ในเขตน่านน้ำของไทย โดยทรัพยากรที่ใช้ในการให้ความรู้คือสิ่งมีชีวิตในทะเลชนิดต่างๆทั้งพืชและสัตว์ที่ยังมีชีวิต โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะถูกเลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดที่มีระบบยังชีพสำหรับให้สิ่งมีชีวิตต่างๆเหล่านี้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ในแต่ละตู้มีการจัดสภาพให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด แต่ละตู้จะมีป้ายเพื่อบ่งบอกชนิดสัตว์ทะเลที่อยู่ในตู้ทั้งชื่อสามัญและชื่อทางวิทยาศาสตร์ โดยหัวข้อต่างๆที่ให้ความรู้สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 หัวข้อใหญ่ ดังแสดงในแผนผังการจัดแสดงในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม ได้แก่
สำหรับส่วนที่จัดแสดงไว้ในสถานเลี้ยงสัตว์น้ำเค็มของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล บางแสนนี้ เป็นบริเวณเขตน้ำขึ้น-น้ำลง บริเวณที่เป็นหาดหิน และมีน้ำขังอยู่ตามแอ่งหิน ซึ่งลักษณะเช่นนี้เรียกกันทั่วไปว่า "แอ่งน้ำขึ้น-น้ำลง" (Tidal Pool) ตามธรรมชาติตามแอ่งน้ำขึ้น-น้ำลงเช่นนี้จะพบ กุ้ง ลูกปลาบางชนิด หอยนางรม ปูเสฉวน เม่นทะเล ดอกไม้ทะเล ดาวทะเล ฯลฯ
บริเวณแนวปะการังนับเป็นแหล่งที่มีความ อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งของทะเล เพราะสัตว์ทะเลหลายชนิดอาศัยบริเวณนี้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่หลบ ซ่อนภัยและเป็นแหล่งอาหาร นอกจากนี้แล้วยังใช้เป็นที่สำหรับผสมพันธุ์ วางไข่ และเจริญเติบ โตของสัตว์ตัวอ่อนอีกด้วย สำหรับปลาที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ส่วนใหญ่ จะเป็นปลาที่มีขนาดและมีสีสันสวย งาม เช่น ปลาสลิด ปลาการ์ตูน ปลาเขียวพระอินทร์ ปลาผีเสื้อ และปลาโนรี เป็นต้น
3. การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตในทะเลเหมือนกับสิ่งมีชีวิตบน บกคือ มีการอยู่ร่วมกัน และพึ่งพาอาศัยกัน ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การอยู่ร่วมกันแบบที่ เรียกว่า "ซิมไบโอซิส" (Symbiosis) ซึ่งหมายถึงการที่สิ่ง มีชีวิตสองชนิดอาศัยอยู่รวมกัน หรืออยู่ ปนกันโดยต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ซึ่ง กันและกัน เช่น ปลาการ์ตูน หรือ ปลาอินเดียแดงสามารถอยู่ร่วมกับ ดอกไม้ทะเล (sea anemone) ได้ โดยที่ปลา เหล่านี้จะอาศัยดอกไม้ทะเลเป็นที่หลบ ภัยและสืบพันธุ์ ส่วนดอกไม้ทะเลจะได้รับ ประโยชน์จากปลาโดยการล่อเหยื่อหรือชัก นำเหยื่อให้เข้ามาใกล้พอที่ดอกไม้ทะเล จะจับเป็นอาหารได้
ดอกไม้ทะเลมีหนวดอยู่เป็นจำนวนมากและ ที่บริเวณปลายหนวดของมันจะมีเข็มพิษหรือ ที่เรียกว่า "นีมาโตซีส" (Nematocyst) อยู่เป็นจำนวน มาก นอกจากเข็มพิษนี้แล้ว บริเวณหนวดของดอกไม้ ทะเลอาจ มีเมือกเหนียว ๆ อยู่ด้วย เวลาที่ปลาว่ายเข้า มาใกล้ตัวมันจะใช้หนวดพันปลาไว้ แล้ว จะปล่อยเข็มพิษ ทำให้ปลาสลบหรือช็อคตายแล้ว กินปลานั้นเป็นอาหาร
สำหรับเข็มพิษของดอกไม้ทะเลเหล่านี้ไม่ เป็นอันตรายต่อปลาการ์ตูน ปลาอินเดียแดงหรือปลาที่ อยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลเหล่านี้ เพราะปลาดัง กล่าวมีสารเคมีที่มีลักษณะเป็นเมือกหุ้ม ตัวอยู่โดยรอบ ซึ่งเป็นลักษณะที่ธรรมชาติสรรค์ สร้างให้มันอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยทั่ว ๆ ไปดอกไม้ ทะเลอาจไม่มีพิษกับคน ยกเว้นในกรณีของ บางคนอาจมีอาการแพ้เกิดขึ้นถ้าไป สัมผัสเข้า โดยจะเกิดผื่นแดง และมีอาการคันหรือ บวมได้
ดอกไม้ทะเลมีหนวดอยู่เป็นจำนวนมากและ ที่บริเวณปลายหนวดของมันจะมีเข็มพิษหรือ ที่เรียกว่า "นีมาโตซีส" (Nematocyst) อยู่เป็นจำนวน มาก นอกจากเข็มพิษนี้แล้ว บริเวณหนวดของดอกไม้ ทะเลอาจ มีเมือกเหนียว ๆ อยู่ด้วย เวลาที่ปลาว่ายเข้า มาใกล้ตัวมันจะใช้หนวดพันปลาไว้ แล้ว จะปล่อยเข็มพิษ ทำให้ปลาสลบหรือช็อคตายแล้ว กินปลานั้นเป็นอาหาร
สำหรับเข็มพิษของดอกไม้ทะเลเหล่านี้ไม่ เป็นอันตรายต่อปลาการ์ตูน ปลาอินเดียแดงหรือปลาที่ อยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลเหล่านี้ เพราะปลาดัง กล่าวมีสารเคมีที่มีลักษณะเป็นเมือกหุ้ม ตัวอยู่โดยรอบ ซึ่งเป็นลักษณะที่ธรรมชาติสรรค์ สร้างให้มันอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยทั่ว ๆ ไปดอกไม้ ทะเลอาจไม่มีพิษกับคน ยกเว้นในกรณีของ บางคนอาจมีอาการแพ้เกิดขึ้นถ้าไป สัมผัสเข้า โดยจะเกิดผื่นแดง และมีอาการคันหรือ บวมได้
5. ปลาเศรษฐกิจ ในทะเลและมหาสมุทรเขตร้อนเป็นบริเวณที่ค่อนข้างมีปลาชุกชุม และปลาหลายชนิดเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เกี่ยวกับประเภทของปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
1. พวกที่นำมาเป็นอาหาร
1. พวกที่นำมาเป็นอาหาร
2. พวกที่นำมาเลี้ยงเพื่อความสวยงาม
6. ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ ปลาบางชนิดมีรูปร่างแปลก โดยมีรูปร่างหรือสีกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อหลบหลีกศัตรูหรือพรางตาเหยื่อ ปลาบางจำพวกนอกจากมีรูปร่างแปลกแล้ว ยังมีสีสันสวยงามและมีพิษด้วย ปลาประเภทนี้มีประมาณ 500 ชนิด รวมถึงปลาบางชนิดที่รับประทานแล้วเป็นพิษต่อมนุษย์
โดยทั่วไปปลาทะเลต่าง ๆ นั้นมีรูปร่างผิดแปลกแตกต่างกันไปตามอุปนิสัยการกินอาหารการหลบซ่อนตัว หรือการอยู่อาศัย บางชนิดมีรูปร่างแบนลง เพื่อให้เหมาะสมกับการหากินบริเวณหน้าดิน เช่น ปลากระเบน ปลาลิ้นหมา ปลาวัว ปลาไหลทะเล ปลาปักเป้า ปลาสิงโต ปลาเหาฉลาม ปลาฉลามกบหรือฉลามแมว ปลาอุบ และ ปลากะรังหัวโขน เป็นต้น
โดยทั่วไปปลาทะเลต่าง ๆ นั้นมีรูปร่างผิดแปลกแตกต่างกันไปตามอุปนิสัยการกินอาหารการหลบซ่อนตัว หรือการอยู่อาศัย บางชนิดมีรูปร่างแบนลง เพื่อให้เหมาะสมกับการหากินบริเวณหน้าดิน เช่น ปลากระเบน ปลาลิ้นหมา ปลาวัว ปลาไหลทะเล ปลาปักเป้า ปลาสิงโต ปลาเหาฉลาม ปลาฉลามกบหรือฉลามแมว ปลาอุบ และ ปลากะรังหัวโขน เป็นต้น
7. ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร ในทะเลและมหาสมุทรมีปลาขนาดใหญ่หลายชนิดอาศัยอยู่ มีขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ปลาที่มีขนาดเล็กรวมทั้งพวกที่มีสีสันสวยงามหลายพวก มักจะอาศัยอยู่ใกล้ฝั่งหรืออยู่ในที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ มีที่กำบังและหลบภัย อาศัยอยู่มากในช่วงความลึกไม่เกิน 1,000 เมตร จากผิวน้ำ ได้แก่ ปลาที่เรารู้จักดี เช่น ปลาโอ ปลากะพงขาว ปลาหมอทะเล ปลาอินทรีย์ ปลากระเบน ปลาหมอทะเล ปลาฉลาม เป็นต้น ปลาอีกหลายชนิดอาศัยอยู่ลึกลงไปเกือบถึงพื้นสมุทร ซึ่งลึกประมาณ 2,000 เมตร เช่น ปลาคอด เป็นต้น
ชั้นที่ 2
ส่วนแรก (หมายเลข 2 ในแผนผังการจัดแสดง) จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง
1. นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตในทะเล โดย ให้ความรู้ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆที่อาศัยอยู่ในทะเล คือ แพลงก์ตอนซึ่งมีบทบาทสำคัญของห่วงโซ่อาหารในทะเล สาหร่าย และหญ้าทะเล ฟองน้ำ สัตว์ที่มีโพรงลำตัว เช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุน เป็นต้น สัตว์จำพวกหนอนทะเล เช่น หนอนตัวแบนหนอนปล้อง หนอนริบบิ้น เป็นต้น สัตว์จำพวกหอย เช่น หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หมึก และหอยงวงช้าง เป็นต้น สัตว์ที่มีข้อปล้องในทะเล เช่น ปู กุ้ง กั้ง และแมงดาทะเล เป็นต้น สัตว์จำพวกคอร์เดทในทะเล เช่น เพรียงหัวหอม แอมฟิออกซัส และสัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลัง ชนิดต่างๆ ได้แก่ ปลาทะเล โลมา พะยูน เต่าทะเล และจระเข้น้ำเค็ม รวมทั้งเรื่องราวของทะเล และสิ่งมีชีวิตในทะเลยุคดึกดำบรรพ์ เป็นต้น
2. นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเล ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการแบ่งเขตของทะเล และระบบนิเวศต่างๆในทะเล รวมทั้งพืช และสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ โดยเริ่มตั้งแต่ ระบบนิเวศของป่าชายเลน ระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และหาดโคลน ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น
3. นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เป็นส่วนที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งต้องพบกับอุปสรรคนานาประการจากคลื่น ลม และพายุ จนทำให้เรืออัปปางเกิดเป็นเรื่องราวของการขุดค้น และศึกษาโบราณคดีใต้น้ำเป็นต้น
จากการที่ดิฉันได้ไปทัศนศึกษา ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลในครั้งนี้
ทำให้ฉันได้รับความรู้ต่างๆมากมาย ได้รู้ถึงเทคโนโลยีต่างๆที่นำมาใช้ในการ
จัดเเสดงด้วย เช่น ได้ทราบว่าในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมีการใช้สื่อและ
วัสดุกราฟิกประเภทใดบ้าง มีสัตว์สิ่งมีอะไรบ้าง เมื่ออดีตมีระบบนิเวศอย่างไร
เป็นต้น
ทำให้ฉันได้รับความรู้ต่างๆมากมาย ได้รู้ถึงเทคโนโลยีต่างๆที่นำมาใช้ในการ
จัดเเสดงด้วย เช่น ได้ทราบว่าในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมีการใช้สื่อและ
วัสดุกราฟิกประเภทใดบ้าง มีสัตว์สิ่งมีอะไรบ้าง เมื่ออดีตมีระบบนิเวศอย่างไร
เป็นต้น
ขอขอบคุณ
อาจารย์ว่าที่เรือตรี ดร. อุทิศ บำรุงชีพ
ท่านจิรศักดิ์ แช่มชื่น วิทยากรให้การบรรยายความรู้
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล สถานที่เเหล่งเรียนรู้
อาจารย์ว่าที่เรือตรี ดร. อุทิศ บำรุงชีพ
ท่านจิรศักดิ์ แช่มชื่น วิทยากรให้การบรรยายความรู้
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล สถานที่เเหล่งเรียนรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น