วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติของคณะศึกษาสตร์


      คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ก่อตั้งมาพร้อมกับวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2498 เมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปี พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จึงได้รับการเลื่อนวิทยะฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒด้วย แต่วิทยาเขตบางแสน จนกระทั่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ได้รับการยกฐานเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา ในปี พ.ศ. 2533 เมื่อมหาวิทยาลัยบูรพามีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ คณะศึกษาศาสตร์จึงมีฐานะเป็นคณะวิชาที่เป็นรูปแบบ จนถึงปัจจุบันนี้


ปรัชญาของคณะศึกษาศาสตร์
สุโข ปญฺญา ปฏิลาโภ
ความได้ปัญญา ให้เกิดสุข


ปณิธานของคณะศึกษาศาสตร์
ความรู้ดี มีคุณธรรม นำสังคม
อัตลักษณ์
สื่อสารเป็นเลิศ ประเสริฐน้ำใจ วินัยชั้นครู
วิสัยทัศน์
สถาบันชั้นนำในระดับนานาชาติที่ผลิตครูวิชาชีพ และบุคลากรทางการศึกษา ด้วยคุณภาพการจัดการศึกษาระดับสากล เป็นศูนย์กลางแห่งความเป็นเลิศในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาและการวิจัยแก่สังคม และประเทศ
พันธกิจ
1. ผลิตบัณฑิต และพัฒนากำลังคนทางด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้งสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. วิจัยและพัฒนาเพื่อการสร้างองค์ความรู้และการประยุกต์ใช้ทางด้านศึกษาศาสตร์และด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. ให้บริการวิชาการแก่สังคมทางด้านศึกษาศาสตร์ และด้านอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อนำพาสู่สังคมอุดมปัญญา
4. พัฒนาคณะให้มีความเป็นเลิศ เข้มแข็ง และพึ่งตนเองได้

ประเด็นยุทธศาสตร์
1. การผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ
2. การวิจัย และการสร้างองค์ความรู้
3. การบริการวิชาการแก่สังคมสู่สังคมอุดมปัญญา
4. การพัฒนาระบบบริหารจัดการ และบุคลากร

วันที่แปดกรกฎ ประเพณีวิ่งเขาสามมุข




       วิ่งประเพณีเขาสามมุขเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา โดยจัดให้มีขึ้นในวันที่ 8 กรกฎาคม ของทุกปี


    เพื่อรำลึกถึงวันสถาปนามหาวิทยาลัย จะจัดให้ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันได้เข้าร่วมกิจกรรม ประเพณีนี้นิสิตที่นี่เค้าเล่ากันต่อๆมาว่าถ้าได้เรียนที่ ม.บูรพาจะต้องเข้าร่วมประเพณีวิ่งเขาสามมุข ถ้าไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ ก็จะเรียนไม่จบ นี่เป็นความเชื่ออีกอย่างหนึ่งที่ชาวบูรพาเล่าต่อๆกันมา โดยกิจกรรมการวิ่งประเพณีเขาสามมุขนี้จะเริ่มตั้งแต่ในยามเช้าตรู่โดยจะมีรถมารับนิสิตจากหน้าอาคาร ภปร.ไปส่งเชิงเขาสามมุขที่เป็นจุดสตาร์ท จากนั้นจะมีการปล่อยตัวนักวิ่ง ประเพณีเขาสามมุขสู่มหาวิทยาลัยบูรพา โดยเส้นทางในการวิ่งจะวิ่งจากเขาสามมุขผ่านแหลมแท่น สู่ถนนเรียบชายหาดบางแสน ผ่านวงเวียนบางแสนเข้าสู่ถนนหน้ามหาวิทยาลัย จุดเส้นชัยจะอยู่ที่บริเวณสวนสวนเทา – ทอง 50 ปี จุดนี้เองเป็นจุดสำคัญสำหรับนิสิตอย่างเราๆ เพราะบริเวณเส้นชัยนี่เองที่มีความเชื่อมาหลายต่อหลายรุ่นแล้วว่าถ้าได้เหยียบตัว A ตรงคำว่า GOAL ผลการเรียนของเราก็จะได้ A ด้วย ถึงจะเป็นเรื่องของความเชื่อ แต่ทุกปีที่วิ่งประเพณีตัว A ก็จะถูกเหยียบจนสีจางไปเลยทีเดียว


   ในการจัดกิจกรรมนี้ขึ้นมาก็เพื่อส่งเสริมให้นิสิตมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง รู้รักสามัคคีแล้ว ทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการมอบถ้วยรางวัลแก่ผู้ชนะในการวิ่งเขาสามมุข เป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่นิสิตที่ชนะสามารถวิ่งจากเขาสามมุขมาถึงมหาวิทยาลัยเป็นคนแรกเมื่อวิ่งมาถึงมหาวิทยาลัยแล้วจะได้ยินเพลงแห่งความภาคภูมิใจ นั่นคือ เพลง แปดกรกฎ


วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กรวยประสบการณ์ของ Edgar Dale

             เอดการ์ เดล (Edgar Dale) ได้จัดแบ่งสื่อการสอนเพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงขั้นตอนของประสบการณ์การเรียนการสอน และการใช้สื่อแต่ละประเภทในกระบวนการเรียนการสอนด้วย โดยพัฒนาความคิดของ Bruner ซึ่งเป็นนักจิตวิทยา นำมาสร้างเป็น กรวยประสบการณ์” (Cone of Experience) โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

1.ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น
2.ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้
3.ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วย ยุคสมัยเวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น
4.การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
5.การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนการสอนจากประสบการณ์ต่าง ๆ
ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น
6.นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม
โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด
7.โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน
8.ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
9. การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้
10.ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ
11.วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด





การใช้กรวยประสบการณ์ของเดล   เป็นการเริ่มด้วยการที่ให้ตัวผู้เรียนได้มีส่วนร่วมที่อยู่ในเหตการณ์ที่มีการกระทำจริงหรือเกิดขึ้นจริงเพื่อทำให้ตัวผู้เรียนได้มีเข้าถึงประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นจริงก่อน  แล้วจึงค่อยให้มีการเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตในเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น  โดยเป็นลำดับขั้น ต่อไปของการได้รับประสบการณ์รองต่อจากนั้นจึงมีการเรียนการสอนด้วยจากการรับรู้ถึงประสบการณ์จริงโดยผ่านจากสื่อต่าง  ๆ ขั้นสุดท้ายของเขาเป็นการให้ผู้เรียนได้เรียนจากสัญลักษณ์ต่างๆซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงเป็นการสอนจากการกระทำ ภาพ นามธรรม











บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 มีการกล่าวถึงความหมายของ สื่อการสอนประเภท วัสดุ ว่าเป็น สิ่งหรือวัสดุสิ้นเปลือง ท่านมีความเห็นว่าอย่างไร

 ตามความคิดของดิฉัน ดิฉันคิดว่า สื่อการสอนประเภท วัสดุ ไม่ถือว่าเป็นสิ่งที่สิ้นเปลือง
เพราะสื่อการสอนประเภทนี้จะช่วยในเรื่องการเรียนการสอน 
การเรียนรู้ของผู้เรียนให้เข้าใจในเนื้อหาของการเรียนง่ายยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีการพัฒนาในด้านความคิด

และความจดจำ อีกทั้งยังทำให้ผู้เรียนมีศักยภาพในด้านการเรียนมากยิ่งขึ้น
ถึงแม้ว่าสื่อการสอนประเภทนี้มีราคาสูง แต่สื่อนี้ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อผู้เรียนทุกระดับชั้น การศึกษาเป็นการลงทุนเราต้องพัฒนาการศึกษาด้วยการมีสื่อที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจ เมื่อเรียนเเเล้วได้รับความรู้สูงสุดและนำมาความรู้ที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ใช้ให้คุ้มค่าที่สุดให้สมกับสื่อที่มีราคาแพงที่ได้เรียน

บันทึกครั้งที่ 4 หลักในการใช้สื่อการสอน

ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด
ดังนี้

      
1.ความเหมาะสม

สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2.ความถูกต้อง
สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่

3. ความเข้าใจ
สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน

4. ประสบการณ์ที่ได้รับ
สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน

5. เหมาะสมกับวัย
ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ
ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่

6. เที่ยงตรงในเนื้อหา
สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่

7. ใช้การได้ดี
สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี

8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน
และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่

9. ตรงกับความต้องการ
สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่

10. ช่วยเวลาความสนใจ
สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่

บันทึกครั้งที่ 3 ออกแบบสื่อสำหรับใช้เพื่อการศึกษา

สื่อการสอน
องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ
สื่อการสอนนั่นเอง
สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา
โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย

    สื่อการสอน คือการนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด
รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา
นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา










วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 2 หัวข้อ ความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมาตั้งแต่ครั้งแรกถึงปัจจุบัน

                                                ครูที่ดีคืออะไร? คำถามนี้อยู่ในใจฉันเสมอ


                                                         
                                                                  ลองชมเเล้วรู้สึกตื้นตันมาก


ครูคือทุกสิ่งของลูกศิษย์

บันทึกครั้งแรกในหัวข้อ “Educational Technology My Dream”

         วิชานี้ เป็นวิชาที่บูรณาการการศึกษา เพราะปัจจุบันเป็นยุคเทคโนโลยี อนาคตเรายังอีกก้าวไกล เราต้องตามทันกระแสโลกที่ไม่มีวันหยุดนึง เทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนการสอน การจัดการเรียนการสอน ให้การศึกษาไทยก้าวไกล รายวิชานี้จะเป็นวิชาที่ทำให้เรามีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อที่จะนำไปใช้ในการเป็นครูและในชีวิตประจำวันได้ ทำให้เรามีการพัฒนาตามทันโลกที่มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง
        ที่เรียนรายวิชานี้ หวังที่จะได้ความรู้ประสบการณ์จากการใช้เทคโนโลยีได้อย่างครบถ้วนและสามารถนำมาใช้ในอนาคต ใช้ในการเรียน ใช้ในชีวิตประจำวัน  ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้พัฒนามากยิ่งขึ้นในอนาคต  
         แรงจูงใจที่เรียนรายวิชานี้ เป็นวิชาที่เรียนเเล้วไม่รู้สึกน่าเบื่อ เป็นวิชาที่มีความเป็นเสรี บวกกับการได้ใช้เทคโนโยลีในการเรียนที่ทั้งสะดวกและรวดเร็ว ทำให้อยากเรียนมากยิ้งขึ้น